ให้คำปรึกษาปัญหากฎหมาย

การทำนิติกรรม สัญญา การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ
คดีปกครอง ทรัพย์สินทางปัญญา ภาษี เศรษฐกิจ คอมพิวเตอร์

ไม่รับปรึกษา
คดียาเสพติด คดีความมั่นคง และคดีอาญา
โดยทีมงานกฎหมายและสำนักงานทนายความ
ติดต่อได้ที่ kwmongkut@outlook.com

NIETS (สทศ.)

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สทศ.” ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “National  Institute of Educational Testing Service (Public  Organization)” เรียกโดยย่อว่า “NIETS” จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

งานครบรอบ 17 ปี สทศ. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ Century Park Hotel

ในฐานะที่เป็นกรรมการของ สทศ. ได้เห็นความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ และทีมผู้บริหารมีความตั้งใจในการสร้างข้อสอบ และจัดการสอบเพื่อให้มีผลการสอบที่เป็นมาตรฐานสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน และเป็นข้อมูลสำหรับฝ่ายกำกับนโยบายการศึกษา ในการยกระดับความสามารถของนักเรียน นักศึกษาที่เข้าทำการทดสอบ ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่มีอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

คุณค่าของการสอบ O-NET

การสอบ O-NET มีประโยชน์ดังนี้
1) ผู้เข้าสอบได้ทราบถึงความรู้ ความสามารถ รวมทั้งจุดเด่น และจุดด้อยของตน จำแนกตามรายวิชาและนำผลไปวางแผน และพัฒนาการเรียนของตน
2) โรงเรียน ได้ทราบความเข้มแข็ง และข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนจำแนกตามรายวิชา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ในแต่ละรายตัวชี้วัด สามารถนำผลไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้
3) ผู้บริหาร ในเขตพื้นที่ จังหวัด ภาค และประเทศ ทราบจุดแข็ง และจุดอ่อน จำแนกตามรายวิชา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และรายตัวชี้วัด สามารถนำผลไปวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาการศึกษาได้

ถ้าไม่สอบ O-NET พลาดโอกาสอะไรบ้าง
1) นักเรียนไม่มีผลคะแนนจากแบบทดสอบมาตรฐานที่มีหน่วยงานกลาง(สทศ.) ที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการสอบ รัฐบาลจัดสอบให้
ในขณะที่ นักเรียนที่มีฐานะทางครอบครัวดี อาจจะไปสอบของบริษัทเอกชน ที่มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้มีการสอบ แต่ข้อสอบอาจไม่ได้มีกระบวนการพัฒนาตามมาตรฐานเหมือนข้อสอบของ สทศ. และนักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อย อาจ ขาดโอกาสในส่วนนี้
2) การสอบ O-NET กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนโดยเฉพาะ ป.6 และ ม.3 ที่ยังไม่รู้เป้าหมายตนเอง ยังมองไม่เห็นความสำคัญของการสอบ ไม่เข้าใจประโยชน์ของ O-NET การให้นักเรียนสมัครใจ จึงทำให้นักเรียนบางส่วนขาดโอกาสในการเข้ารับการทดสอบ
3) นักเรียนทุกคนควรได้รับโอกาสการทดสอบ แต่ปัจจุบันนักเรียนบางคนอาจจะถูกตัดโอกาสเนื่องจากเรียนไม่เก่ง ทำให้ โรงเรียนอาจไม่ส่งชื่อเข้าสอบได้เช่นกัน เพราะกลัวผลการสอบออกมาไม่ดี ส่งผลต่อชื่อเสียงหรือแสดงจุดอ่อนของโรงเรียน ทำให้นักเรียนพลาดโอกาสี่จะรู้จักตนเอง ด้วนค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลจัดให้

https://www.niets.or.th/th/catalog/view/122

สทศ. มีการจัดสอบอะไรบ้าง

การทดสอบระดับชาติ (ผู้เข้าสอบไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น -สอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ป.6, ม.3, ม.6 -สอบระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับ ปวช.3 -สอบระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบ (N-NET) ระดับประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย -สอบระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET) ม.ต้น กับ ม.ปลาย

-สอบระดับชาติด้านอิสลามศึกษา (I-NET) ระดับ ตอนต้น กับตอนปลาย
งานบริการ ปัจจุบัน
-สอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน(TEC-W)
-สอบสมรรถนะครูด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
-สอบวัดสมรรถนะด้านดิจิทัล(DL)
-สอบวัดความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)

การจัดสอบ O-NET ของ สทศ. มีปัญหาเชิงนโยบายอย่างอะไรบ้าง
1) ด้านนโยบายที่ภาครัฐ ประกาศให้การสอบ O-NET เป็นการสมัครใจ และไม่นำผลไปใช้พัฒนาอย่างจริงจัง
2) อำนาจ หน้าที่ของ สทศ. ทำได้ในส่วนของจัดสอบ และออกข้อสอบ แต่ไม่มีอำนาจในเชิงนโยบายของการนำผลการสอบไปใช้พัฒนา ทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมายที่จะนำผลไปพัฒนาประเทศได้
3) งบประมาณที่ได้รับลดลงสวนทางกับจำนวนนักเรียนที่สมัครสอบมากขึ้น
4) ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของการพัฒนางานนวัตกรรม ในด้านการสอบ หรือ การออกข้อสอบอย่างเพียงพอ
5) บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีจำนวนจำกัด
6) งบประมาณในส่วนบุคลากรไม่สอดคล้องกับอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานจริงทำให้เจ้าหน้าที่ รู้สึกไม่มั่นคงในการทำงาน และลาออกจากงานไปหางานใหม่ที่ให้ความรู้สึกมีความมั่นคงกว่า ถึงแม้ว่า สทศ. จะเป็นหน่วยงานของรัฐก็ตาม

งานครบรอบปีที่ 18 การก่อตั้ง สทศ. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566