ให้คำปรึกษาปัญหากฎหมาย

การทำนิติกรรม สัญญา การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ
คดีปกครอง ทรัพย์สินทางปัญญา ภาษี เศรษฐกิจ คอมพิวเตอร์

ไม่รับปรึกษา
คดียาเสพติด คดีความมั่นคง และคดีอาญา
โดยทีมงานกฎหมายและสำนักงานทนายความ
ติดต่อได้ที่ kwmongkut@outlook.com

จริยธรรมของการประเมิน


อ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมใน “ไทยรัฐออนไลน์” : https://www.thairath.co.th/content/277982

จริยธรรมของการประเมิน

การประเมิน (Evaluation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาจเป็นการประเมินทั้งหมดหรือบางส่วนของสิ่งที่ต้องการประเมิน การประเมินไม่ใช่เพียงการประเมินผลลัพธ์เท่านั้น แต่อาจเป็นการประเมินส่วนองค์ประกอบของกระบวนการหรือปัจจัยนำเข้าด้วย การประเมินระบบต่าง ๆ จึงเป็นแนวทางสำคัญในการประเมินที่ให้ความคิดเชิงระบบ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวนการ (Processes) และผลลัพธ์ (Outputs) ซึ่งเป็นที่มาของการประเมิน

ปัจจุบัน การประเมินถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถตกลงร่วมกันในการใช้ผลการประเมินเพื่อใช้เป็นแนวทางหรือทิศทางในการปฏิบัติงาน การประเมินอาจเป็นการใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา สัญญา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องยอมรับและเข้าใจ การประเมินนี้จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงตรงที่สุดสำหรับการใช้เป็นแนวทางหรือทิศทางของการประเมิน

โดยการประเมินมีการตัดสินค่าของสิ่งที่ประเมินเพื่อสร้างเสริมคุณค่าและเป้าหมายในการพัฒนา และส่งผลกระทบต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ทำการประเมินมีอำนาจในกระบวนการประเมิน โดยบทความกล่าวถึง 3 กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ได้แก่ กลุ่มที่นิยมการเปลี่ยนแปลง กลุ่มที่ไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มระหว่างกลาง ซึ่งผู้เขียนบอกว่าการตระหนักแรงต้านจากกลุ่มนี้เป็นเรื่องสำคัญในการประเมิน เนื่องจากการแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้การประเมินขาดความบริสุทธิ์และยุติธรรม ผู้ทำการประเมินควรระวังในเรื่องเลือกโครงการที่จะประเมิน เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและไม่เบี่ยงเบน เพื่อป้องกันการทำลายชื่อเสียงหรือความสามารถของผู้บริหาร นอกจากนี้ ยังควรตระหนักถึงจุดประสงค์หลักของการประเมินและไม่สับสนในการกระทำ อีกทั้งห้ามบิดเบือนข้อมูลหรือวิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ผลที่พอใจ และไม่ควรถ่วงเวลาในการประเมิน

ศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์