อ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมใน “ไทยรัฐออนไลน์” : https://www.thairath.co.th/content/133518
http://www.108kids.com/archives/609
ห้องน้ำในสถานศึกษา : ตัวบ่งชี้คุณภาพที่ซ่อนเร้น
การมีห้องน้ำที่เพียงพอและสะอาดในโรงเรียน ห้องน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาโดยรวม การจัดการให้ห้องน้ำสะอาดและสามารถให้บริการได้เป็นอย่างดีเป็นความสามารถของผู้บริหาร และเป็นตัวบ่งชี้ว่าสถานศึกษามีคุณภาพด้านอื่น ๆ อย่างเช่นด้านวิชาการ การกีฬา และสุขภาพที่ดีหรือไม่ กฎกระทรวงที่กำหนดมาตรฐานสำหรับห้องน้ำในสถานศึกษาช่วยให้มีการควบคุมคุณภาพและจำนวนที่เพียงพอตามจำนวนนักเรียนหรือนักศึกษา
การสร้างและการจัดการห้องน้ำในสถานศึกษา เนื้อหาสรุปรวมถึงความสำคัญของปริมาณและคุณภาพของห้องน้ำในการของบประมาณและเลือกสถานศึกษาให้กับบุตรหลาน การจัดการห้องน้ำในสถานศึกษามีความแตกต่างกันตามระดับของสถานศึกษา แต่มีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมือนกัน เช่น ความสะอาด อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ แหล่งจ่ายน้ำเพียงพอ ระบบระบายน้ำเสียและการระบายอากาศที่ดี ความปลอดภัย เนื้อหายังกล่าวถึงความสำคัญของการมีห้องน้ำที่สะอาดและเพียงพอในสถานศึกษา ทั้งในเรื่องของความพึงพอใจของผู้ปกครองและผู้เรียน และภาพลักษณ์ของสถานศึกษาที่สร้างความภูมิใจในประเทศไทยในสายตาของคนต่างชาติ สุดท้ายบทความย้ำให้ผู้บริหารสถานศึกษารับรู้ความสำคัญและหาวิธีการในการจัดการห้องน้ำเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ของสถานศึกษาหรือดำเนินการตามวิธีการที่เหมาะสมในแต่ละกรณี
โรงเรียนในต่างจังหวัดจำนวนมากนักเรียนใช้ห้องน้ำของโรงเรียน ไม่ได้ บางแห่งไม่มีห้องน้ำและบางแห่งมีห้องน้ำแต่ไม่อยู่ในสภาพที่ใช้บริการได้ การจัดการให้ห้องน้ำในสถานศึกษาสามารถให้บริการที่ดีได้จึงเป็นความสามารถ ของผู้บริหาร และเป็นคุณภาพของสถานศึกษาที่ซ่อนเร้นแต่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับคุณภาพ ด้านอื่น ๆ ของสถานศึกษา เช่น ด้านวิชาการ ด้านการกีฬา ด้านสุขอนามัย เป็นต้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “โรงเรียนดี มีห้องน้ำสะอาด”
กฎ กระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551 ) ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้อาคารสถานศึกษามีห้องส้วม 1 ที่ และที่ถ่ายปัสสาวะ 1 ที่ ต่อนักเรียน นักศึกษาชาย 50 คน สำหรับจำนวนนักเรียน นักศึกษาชายไม่เกิน 500 คน ส่วนที่เกิน 500 คนให้เพิ่มอย่างละ 1 ที่ ต่อจำนวนหน่วย 100 คน ส่วนนักเรียนนักศึกษาหญิงให้มีห้องส้วม 2 ที่ ต่อนักเรียน นักศึกษาหญิง 50 คน สำหรับจำนวนนักเรียนนักศึกษาหญิงไม่เกิน 500 คน ส่วนที่เกิน 500 คน ให้เพิ่มห้องส้วม 2 ที่ ต่อ 100 คน และให้มีอ่างล้างมือด้วย 1 ที่ ไม่บังคับจำนวนว่ามีสัดส่วนเท่าใดเช่นเดียวกับห้องอาบน้ำไม่บังคับว่าต้องมีห้อง น้ำในบทความนี้เป็นความหมายทั่วไปซึ่งหมายถึงห้องส้วม ซึ่งแยกเป็นห้องถ่ายอุจจาระ และที่ถ่ายปัสสาวะ หรือเรียกรวม ๆ ว่าห้องส้วม นอกจากนั้นยังหมายถึงห้องอาบน้ำ และอ่างล้างมือด้วย แต่ในการออกกฎกระทรวงได้จำแนกประเภทไว้สำหรับการควบคุมอาคารและการจัด สวัสดิการเกี่ยวกับห้องน้ำและห้องส้วมไว้โดยเฉพาะ ความสำคัญและความจำเป็นของห้องน้ำเป็นที่ทราบทั่วกันไม่ต้องกล่าวถึงอีก
ปริมาณและคุณภาพของห้องน้ำ
การสร้างห้องน้ำเพื่อ ให้มีปริมาณตามกฎกระทรวงนั้นใช้เป็นเหตุผลในการของบประมาณและสามารถสร้างให้ ได้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด แต่การดูแลรักษาให้ห้องน้ำในโรงเรียนหรือสถานศึกษาสามารถใช้การได้ดีเป็น ความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษา มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งก่อนจะพาบุตรหลานของตนไปเรียนที่สถานศึกษา ได้ไปสำรวจดูห้องน้ำของสถานศึกษานั้นก่อนและใช้ปริมาณและคุณภาพของห้องน้ำ เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียน แต่ถ้าเป็นโรงเรียนหรือสถานศึกษาในต่างจังหวัดหรือในเขตพื้นที่ ที่ผู้ปกครองไม่มีทางเลือกมากก็ต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม
ถ้าโรงเรียน หรือสถานศึกษาแห่งใดมีห้องน้ำมากพอและมีความสะอาด หรือได้รับการดูแลอย่างดีจะเป็นที่กล่าวถึงอย่างชื่นชมในหมู่ผู้เรียนและผู้ ปกครองและแสดงถึงความภูมิใจในสถานศึกษาของตน ความพึงพอใจในห้องน้ำของสถานศึกษาของผู้เรียนและผู้ปกครองจึงเป็นตัวบ่งชี้ คุณภาพของสถานศึกษาอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการได้ในส่วน นี้ ความสะอาดของห้องน้ำนอกจากจะบอกรสนิยมและภาพลักษณ์ของสถานศึกษาแล้วยังนำไป สู่ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของคนต่างชาติที่มาเยี่ยมชมสถานศึกษานั้น ๆ อีกด้วย
การจัดการห้องน้ำในสถานศึกษา
สถานศึกษา ตั้งแต่ระดับโรงเรียน วิทยาลัย จนถึงมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกัน การออกแบบสำหรับห้องน้ำและการจัดการห้องน้ำให้สามารถใช้บริการได้ดีย่อมมี ความแตกต่างกันด้วย นอกจากนั้นทำเลที่ตั้งของสถานศึกษาและการเอาใจใส่ดูแลของผู้รับผิดชอบในสถาน ศึกษาแต่ละแห่งยังแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามการจัดการห้องน้ำในสถานศึกษาทุกระดับมีสิ่งที่เป็นพื้นฐาน ร่วมกันดังนี้
- มีความสะอาด คุณภาพของห้องน้ำวัดได้จากความสะอาดของห้องน้ำ ทั้งที่สัมผัสได้ด้วยการเห็นและกลิ่นที่สะอาด การใช้น้ำยาเคมีสำหรับฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำอย่าง เป็นระยะ และต่อเนื่องอยู่เสมอในแต่ละวัน
- มีอุปกรณ์ห้องน้ำที่มีคุณภาพ ได้แก่โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ และสายฉีดชำระ เป็นต้น ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีความคงทน มีมาตรฐานสำหรับการใช้งานสาธารณะได้ ซึ่งจะแตกต่างจากอุปกรณ์ที่ออกแบบสำหรับการใช้งานในบ้านเรือนหรืออาคารที่ พักอาศัย การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาเป็นความจำเป็นและเป็นความ ท้าทายของการจัดการห้องน้ำที่ต้องทำให้ได้
- มีแหล่งจ่ายน้ำเพียงพอ แรงดันของน้ำและปริมาณของน้ำสำหรับห้องน้ำต้องเพียงพอ โรงเรียนในต่างจังหวัดจำนวนมากไม่สามารถให้บริการห้องน้ำได้ถึงแม้จะมีห้อง น้ำก็ตามเพราะขาดแหล่งจ่ายน้ำได้ตลอดเวลาที่เปิดเรียน หรือตลอดทั้งปีการศึกษา ปริมาณน้ำและแรงดันน้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญโยงไปถึงความสะอาดของของห้องน้ำอีก ด้วย
- มีระบบระบายน้ำเสีย และการระบายอากาศที่ดี การอุดตันของท่อระบายน้ำเป็นปัญหาที่พบบ่อยของห้องน้ำ การออกแบบระบบการระบายน้ำเสีย การถ่ายเทอากาศและใช้มาตรการป้องกันการอุดตันของท่อระบายน้ำต้องมีการดำเนิน การอย่างเข้มงวดทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและไม่สร้างมลพิษ หรือรบกวนผู้ที่อยู่ใกล้และอาจได้รับผลกระทบจากห้องน้ำ
- มีความปลอดภัย ห้องน้ำในสถานศึกษาอาจถูกใช้เป็นที่สำหรับการกระทำผิดต่าง ๆ การดูแลเรื่องความปลอดภัย เช่น แสงสว่างที่เพียงพอ ไม่อยู่ในที่เปลี่ยว เป็นมุมอับหรือไกลเกินไป ความปลอดภัยเป็นพื้นฐานของความสำคัญของการจัดการห้องน้ำเช่นกัน
จาก การพิจารณาพื้นฐานสำคัญของการจัดการดูแลรักษาห้องน้ำในสถานศึกษาทั้ง “5 มี” ดังกล่าวจะพบว่า “มีค่าใช้จ่าย” เกิดขึ้นทั้งสิ้น เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการจัดการของสถานศึกษารัฐบาล การแก้ไขปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ในบางสถานศึกษาด้วยการจัดให้มีงบประมาณจาก เงินรายได้ของสถานศึกษาเองเข้ามาช่วยสมทบให้การจัดการห้องน้ำน่าใช้บริการ มากขึ้น ถ้าผู้บริหารจะเห็นความสำคัญของการให้บริการห้องน้ำที่สะอาดแก่ผู้เรียนก็ “สามารถหาวิธีการต่าง ๆ” เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ สำหรับสถานศึกษาเอกชนสามารถดำเนินการได้ดีอยู่แล้วเป็นส่วนมาก ยังเหลือแต่สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนของรัฐบาลบางแห่งในต่างจังหวัดที่ยัง ไม่สามารถจัดการห้องน้ำให้สามารถบริการผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ เพราะแม้แต่ห้องน้ำของครู/อาจารย์เองก็ยังต้องได้รับการปรับปรุงคุณภาพเช่น กัน
สรุป
ห้องน้ำนอกจากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนที่ ต้องใช้บริการแล้ว การดูแลจัดการให้ห้องน้ำในสถานศึกษามีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพเป็นงานสำคัญ งานหนึ่งที่ท้าทายความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหาร จากการสำรวจพบว่า โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงและมีผู้ต้องการเรียนจำนวนมาก สถานศึกษาเหล่านั้นล้วนมีห้องน้ำที่เพียงพอและสะอาดสำหรับผู้เรียนทั้งสิ้น ดังนั้น ห้องน้ำจึงเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของสถานศึกษา ที่ซ่อนเร้นอยู่ และมีความสัมพันธ์กับคุณภาพด้านอื่น ๆ ของสถานศึกษา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “จะดูว่าโรงเรียนไหนดี ให้ไปดูที่ห้องน้ำโรงเรียนนั้น”
ศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์